Mon. Nov 25th, 2024

How to รับมือกับวิกฤต COVID-19

 

วันที่ 11 มีนาคม 2563 องค์การอนามัยโลก WHO ประกาศให้โรคติดเชื้อCOVID-19 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก ซึ่งในขณะนี้มียอดผู้ติดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการระบาดให้มากขึ้น

1. สังเกตอาการของตัวเอง อาการของโรค COVID-19 นั้นจะเริ่มจากมีไข้ ไอ และหายใจติดขัด ซึ่งหากผู้ใดพบว่าตัวเองมีอาการดังกล่าวก็ควรพบแพทย์ทันที ขณะเดียวกันก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อไม่ไปแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น และพยายามอยู่ห่างจากผู้อื่นเป็นระยะ 2 เมตร

2. ปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอ จามด้วยกระดาษเช็ดหน้า หรือจามใส่ข้อพับต้นแขนด้านใน ทิ้งกระดาษเช็ดหน้าที่ใช้งานแล้วลงในถังขยะที่มีฝาปิดทันที ตามด้วยการล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลล้างมือแอลกอฮอล์

3. ทำงาน / เรียน ที่บ้าน จะช่วยให้เราไม่ต้องออกไปเจอใคร ทำให้ลดแพร่ระบาดของไวรัสไปได้มาก แต่เมื่อเราจะเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน จากที่ทำงานไปที่บ้านนั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การเตรียมความพร้อม Work / Study from home ให้ดี

4. ในระหว่างการทำงาน หรือเรียน ที่บ้านตามมาตรการในข้อ 3 ที่พักอาศัยต้องได้รับการทำความสะอาด โดยเฉพาะจุดที่ร่างกายสัมผัสบ่อยๆ เช่นเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ส่วนตัว พื้นผิวต่างๆที่สัมผัสบ่อย ให้สะอาดเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค

5. หลีกเลี่ยงการกินอาหารร่วมกัน ด้วยจานชามช้อนส้อมเดียวกัน ถ้าเป็นไปได้ควรจะกินแบบแยกสำรับใครสำรับมัน และมีช้อนส้อมเป็นของตนเอง ไม่ตักอาหารหรือใช้มือหยิบอาหารร่วมจานเดียวกัน

6. หลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน เพราะโรค COVID-19 มีการแพร่ระบาดจากคนสู่คน และมีความเสี่ยงสูงหากเราพาตัวเองไปอยู่ในที่แออัดหรือมีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น คอนเสิร์ต กีฬา หรือการทำกิจกรรมทางศาสนา เป็นต้น

7. เมื่อใช้หน้ากากอนามัยเสร็จแล้ว วิธีการเก็บทิ้งคือ พับหน้ากากอนามัยม้วนใส่ถุงที่ปิดสนิท และล้างมือให้สะอาดอีกครั้งหลังจากสัมผัสกับถุงขยะ

8. ล้างมือด้วยสบู่เป็นวิธีการทำความสะอาดมือที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับการไม่สัมผัสใบหน้า (จมูก ปาก หรือตา) ปิดปากทุกครั้งที่ไอหรือจามด้วยข้อศอก เพราะการใช้มือปิดปากทำให้เกิดการแพร่เชื้อสู่คนอื่นได้ง่าย ทั้งนี้ ก็ต้องดูแลตัวเองด้วยการนอนหลับให้เพียงพอและทานอาหารที่มีประโยชน์

อาการรุนแรงที่สุดที่พบจากโคโรนาไวรัส คืออาการปอดอักเสบอันนำไปสู่การเสียชีวิต ความรุนแรงของโรคแตกต่างกันตามความแข็งแรงของแต่ละคน เด็กอายุน้อย และวัยรุ่นจะมีอาการน้อยกว่าผู้สูงอายุ ผู้ที่เสียชีวิตเกือบทั้งหมดเป็นผู้สูงอายุ และมักมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอด หรือ โรคหัวใจ มีวิธีการสังเกตอาการดังนี้

ไข้ – มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส

ไอ จาม เสมหะ – ไอ มีเสมหะ เจ็บคอ นานติดต่อกันมากกว่า 4 วัน เริ่มมีเลือดปนเสมหะ

ถ่ายเหลว ท้องเสีย – บางรายมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ร่วมด้วย

การหายใจ – หายใจลำบากมีไอร่วมด้วย ในบางรายที่อาการรุนแรงปอดอักเสบ หรือปอดบวม

อาการปวดเมื่อย – ปวดเมื่อยตามตัว ทานอาหารไม่ค่อยได้

 สายด่วนกรมควบคุมโรค : 1422