มะเดื่อปล้อง
ชื่อสามัญ –
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus hispida L. f.
ชื่อวงศ์ Moraceae
ลักษณะทั่วไป
“เป็นไม้ค่อนข้างโตเร็ว ชอบความชุ่มชื้น สามารถปลูกได้ทั้งที่ราบลุ่มที่มีน้ำขัง ช่วยป้องกันการพังทลายของดิน ผลเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าหลายชนิด”
ไทรขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบรอบลำต้น ต้นอ่อนมักกลวง ดอกแยกเพศร่วมต้น
ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์
หูใบยาว 1-2.5 เซนติเมตร มีขนยาว ร่วงง่าย ใบเรียงตรงข้าม หรือเรียงเวียน รูปขอบขนาน รูปรี หรือรูปไข่กลับ ยาว 5-25 เซนติเมตร ต้นกล้าอาจยาวได้ถึง 35 เซนติเมตร ปลายใบแหลมยาว โคนใบรูปลิ่มหรือเว้าต้น ๆ คล้ายรูปหัวใจ แผ่นใบมีขนทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบข้างละ 4-10 เส้น ก้านใบยาว 1-6.5 เซนติเมตร หรือเกือบ 10 เซนติเมตร ในต้นอ่อน ดอกขนาดเล็กอยู่ภายในฐานรองดอกที่ขยายใหญ่และอวบน้ำ ออกตามซอกใบ ลำต้น และกิ่งใหญ่ ๆ ก้านยาว 0.5-3.5 เซนติเมตร มีใบประดับที่โคน 3 ใบ ยาว 0.5-2.5 มิลลิเมตร ค่อนข้างกลม ผลสดเส้นผ่านศูนย์กลางอาจโตได้ถึง 3.5 เซนติเมตร ผลแห้ง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่มและเกล็ดปกคลุมห่าง ๆ สุกสีเหลืองอ่อน รูเปิดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 มิลลิเมตร ด้านในไม่มีขน รอบ ๆ มีใบประดับ 5-6 ใบ
ประโยชน์
- เนื้อไม้อ่อน ไม่มีการนำประโยชน์มากนัก รากและเปลือกต้น แก้พิษในกระดูก แก้เม็ดฝี
เอกสารอ้างอิง
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). คู่มือ เลือกชนิดพรรณไม้ เพื่อปลูกป่า ป้องกันอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ข่าวในหมวด
Science Walk rally come back again!!!!
Khon Kaen MuArt เส้นทางพิพิธภัณฑ์ฉบับตามใจฉัน
Science Show: สีที่หายไปไฟจราจร, ภูเขาไฟยูนิคอร์น, หมึกล่องหน