ปอสา
ชื่อสามัญ: Paper mulberry
ชื่อวิทยาศาสตร์/ชื่อพฤกษศาสตร์: Broussonetia papyrifera (L.) L’Hér. ex Vent.
วงศ์: Moraceae
ชื่อท้องถื่น: ปอสา, ปอกะสา
ลักษณะทั่วไป
ปอสาเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง ผลัดใบ การแตกกิ่งก้านมีลักศณะค่อนข้างโปร่ง เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ๆ เป็นเส้นใยเรียบและบาง มีขนสีขาวตรงยอดอ่อนและกิ่งอ่อน น้ำยางมีสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะใบเป็นรูปวงรีกว้าง ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเล็กน้อย มองดูมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นซี่ หลังใบเมื่อลูบดูจะรู้สึกสากและระคายมือ ท้องใบจะมีขนหนานุ่ม ก้านใบมีขน ดอกปอสาเป็นแบบแยกเพศอยู่คนละต้น โดยช่อดอกเพศพู่จะเป็นช่อดอกย้อยลงมาคล้ายหางกระรอก ยาว 6-8 เซ็นติเมตร ดอกเพศเมียมีลักษณะเป็นช่อกลม มีดอกย่อยอยู่เป็นจำนวนมาก ผลเป็นผลรวม มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซ็นติเมตร สีแดงแกมส้ม
ประโยชน์
- เปลือกต้นใช้ทำกระดาษสา และเส้นใยสำหรับทอเป็นผ้า
- เปลือกต้นเมื่อลอกออกมาสามารถใช้ทำเป็นเชือก
- ใบอ่อนใช้ทำเป็นอาหารหมู วัว
- ผลปอสาเป็นอาหารนก
- เนื้อไม้ใช้ทำตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน
6.
ข้อมูลอ้างอิง
พืชให้เส้นใย, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “ปอสา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/use/fiber1.htm. [5 ก.ย. 2021].
ระบบจัดการฐานความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้
กรมป่าไม้. “ปอกระสา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : biodiversity.forest.go.th. [5 ก.ย. 2021].
ข่าวในหมวด
Science Walk rally come back again!!!!
Khon Kaen MuArt เส้นทางพิพิธภัณฑ์ฉบับตามใจฉัน
Science Show: สีที่หายไปไฟจราจร, ภูเขาไฟยูนิคอร์น, หมึกล่องหน