Thu. Nov 21st, 2024

เหยี่ยวนกเขาชิครา

170748063_3879410842112011_3783572021835814263_n
ชื่อภาษาอังกฤษ: Shikra
ภาษาอีสาน: แหลว/อีแหลว
ชื่อทวินาม Accipiter badius
171031014_3879410715445357_1103147193925257434_n
พื้นที่ป่าในมหาวิทยาลัยขอนแก่นส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง สามารถทำให้พบเห็นสัตว์ป่าได้หลายชนิดที่อาศัยในระบบนิเวศน์ป่าเต็งรัง
เหยี่ยวชิครา หรือเหยี่ยวนกเขาชิคราก็เป็นนกนักล่าในวงศ์เหยี่ยวและนกอินทรี (Accipitridae) ชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในป่าภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยภาพที่ถ่ายได้เป็นเหยี่ยวนกเขาชิคราที่กำลังบินร่อนเพื่อหาอาหาร ซึ่งลักษณะเด่นของเหยี่ยวชนิดนี้ขณะร่อนมักไม่ค่อยกระพือปีกบ่อยเหมือนเหยี่ยวชนิดอื่น
และมักจะร่อนช้า ๆ ไปมา ผู้ถ่ายพบเห็นขณะเดินศึกษาธรรมชาติบริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติสวนไทร ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
.
คำว่าชิครา (Shikra) มาจากภาษาฮินดี (शिकारी) แปลว่า “นักล่า” นกชนิดนี้เป็นเหยี่ยวขนาดเล็กที่สุดในสกุล Accipiter มีปากแหลม
ปลายปากงุ้มลง ปีกกว้างสั้น ปลายปีกแหลม และมีหางยาวสีเทามีลายแถบสีคล้ำ 5 แถบ เวลาบินจะเห็นปีกด้านล่างสีขาว ปลายปีกเป็นสีดำ
มีลายยาวสีน้ำตาลคล้ำ ตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย เมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร
บริเวณลำตัวช่วงคอจะเห็นเป็นสีเทาอมฟ้าอ่อน ๆ มีกรงเล็บแหลมใช้สำหรับจับเหยื่อ โดยจะล่าเหยื่อที่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก
เช่น แมลง สัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก รวมถึงนกขนาดเล็ก
.
พฤติกรรมการสร้างรังและการผสมพันธุ์ เรามักจะเห็นเหยี่ยวชนิดนี้อยู่เป็นคู่ ในการสร้างรังจะใช้
กิ่งไม้แห้งสานขัดกันเป็นรังอย่างง่ายบนต้นไม้สูงแล้ววางไข่
.
เหยี่ยวนกเขาชิคราเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535
โดยห้ามเลี้ยง ห้ามครอบครอง ห้ามจำหน่าย และห้ามล่า มีโทษหนักสูงสุดคือจำคุก 4 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.171016723_3879410718778690_5604935973211564079_n
ภาพและเรื่อง: นฤดม พิมพ์ศรี