
เมื่อวันที่ 17 และ 19 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมกับอีก 13 พิพิธภัณฑ์เครือข่าย Thailand Museum Pass จัดกิจกรรมเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ในยามค่ำคืน ในชื่อกิจกรรม “Museum night 2021”
โดยพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับชมรมดาราศาสตร์ มข. จัดกิจกรรมดูดาว และดูปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี หรือ “Micro Full moon”
โดยระยะห่างระหว่างดวงจันทร์จากโลกประมาณ 405,924 กิโลเมตร
กิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่
17.30 – 18.00 น. แนะนำการใช้แผนที่ดาว
18.00 – 18.45 น. สังเกตดาวเคราะห์ (ดาวศุกร์ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัส)
18.45 – 19.30 น. เรียนรู้กลุ่มดาวสำคัญในช่วงฤดูหนาว
วันที่ 17 กิจกรรมเปิดให้ลงทะเบียนเข้าชมตั้งแต่เวลา 17.00 น. โดยเริ่มด้วยการบรรยายเกี่ยวกับการดูแผนที่ดาว ให้ความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ และการใช้กล้องโทรทรรศน์แก่ผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรมโดย อ.ดร. ไชยพงษ์ เรืองสุวรรณ และสมาชิกชมรมดาราศาสตร์ ในช่วงแรกของกิจกรรมมีเมฆบดบังทัศนียภาพท้องฟ้า และในเวลาประมาณ 18.30 น. ท้องฟ้าเปิดออกปรากฎให้เห็นดวงดาวบนทองฟ้า ผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมเริ่มทยอยส่องกล้องโทรทรรศน์ดูดาวเคราะห์ และดวงจันทร์เต็มดวง
ในวันที่ 19 เปิดให้ลงทะเบียนเข้าชมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ “ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี” หรือ “Micro Full moon” ส่งท้ายปี ตั้งแต่เวลา 17.00 น. กิจกรรมเริ่มด้วยการบรรยายความรู้เกี่ยวกับแผนที่ดาว ให้ความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ และการใช้กล้องโทรทรรศน์แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งมีการร่วมตอบคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์โดยสมาชิกชมรมดาราศาสตร์พร้อมกับมีของรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับผู้ที่เข้าร่วมตอบคำถาม จากนั้นเมื่อเวลาประมาณ 19:00 น. ท้องฟ้าเปิดออกเล็กน้อย ปรากฏให้เห็นดวงจันทร์เต็มดวง และดวงดาว ผู้ชมทยอยต่อแถวส่องกล้องเพื่อชมดวงจันทร์ เพื่อจะได้ดูปรากฏการณ์ดวงจันทร์ไกลโลกมากที่สุดส่งท้ายปี
ข่าว :
ณัฐนรี มะปะไมย์
ภูมิศักดิ์ ชาวะไล
ภาพ :
ดวงกมล จันทร์เปล่ง
ข่าวในหมวด
กิจกรรมวันหนังสือเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2568
One Day Camp ครั้งที่ 9 เปิดประสบการณ์การเรียนรู้สุดพิเศษ!!
ONE DAY CAMP ครั้งที่ 8 x Diamond Brain Tutor