
ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา โดยมีผู้บริหาร บุคลากร ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและกรมทรัพยากรธรณี เขต 2 (ขอนแก่น) แขกผู้ มีเกียรติ และสื่อมวลชน ร่วมการจัดงานในครั้งนี้ โดยนายนิมิตร ศรคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 (ขอนแก่น) กล่าวถึง การสนับสนุนของกรมทรัพยากรธรณี ตามที่ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอย่างหนึ่งเพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป โดยร่วมจัดนิทรรศการ เรื่อง นิทรรศการไดโนเสาร์ 9 สายพันธุ์ใหม่ สายเลือดไทย กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งจังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีแหล่งธรณีวิทยา ธรรมชาติวิทยา และแหล่งซากดึกดำบรรพ์อันล้ำค่า ได้มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ในบริเวณหุบเขาภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญพบว่าเป็น ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลกถึง 4 ชนิด มีอายุประมาณ 130 ล้านปี กรมทรัพยากรธรณีได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าว ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก 4 ชนิด ได้แก่ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่, สยามโมซอรัส สุธีธรเน่, สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซีส, และกินรีมินัส ขอนแก่นเอนซีส นอกจากนี้ยังได้จัดแสดงไดโนเสาร์ที่ค้นพบในจังหวัดอื่นๆ ในประเทศไทยมาจัดแสดงอีก 5 ชนิด ได้แก่ อิสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ, ชิตตะโกซิรัส สัตยารักษ์กิ, สยามโมดอน นิ่มงามมิ, สิรินธรน่า โคราชเอนซิส, และราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ
รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวถึงนโยบายการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อใช้จัดแสดงนิทรรศการถาวรเฉลิมพระเกียรติ และจัดแสดงนิทรรศการด้านธรรมชาติวิทยาโดยเนื้อหาการจัดแสดงจะเน้นข้อมูลทรัพยากรสำคัญๆ ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของทุกคนในเรื่องธรรมชาติวิทยา ความหลากหลายในธรรมชาติ ระบบนิเวศ ซึ่งจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงความรู้ที่สำคัญของภูมิภาคอย่างยั่งยืน รวมทั้งยังเป็นการยกระดับความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ของคนในท้องถิ่น นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นยังมีแผนจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเป็นการส่งเสริมและกระตุ้นในเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเข้าใจและมีความรักในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ผลักดันให้นักเรียน เยาวชนที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้พื้นฐาน มีความรักและความเข้าใจเนื้อหาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนเป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งในการดำเนินพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้นยังต้องเร่งให้มีการพัฒนาเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากองค์กรทั้งภายในและภายนอกหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เฉพาะด้าน ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์ในการสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านธรณีวิทยา อีกทั้งสามารถส่งเสริมการดำเนินงานตามภารกิจของพิพิธภัณฑ์ ให้เกิดประสิทธิภาพ จากนั้น รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริรชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวขอบคุณกรมทรัพยากรธรณี กล่าวเปิดงานเปิดตัว “นิทรรศการไดโนเสาร์ 9 สายพันธุ์ใหม่ สายเลือดไทย กรมทรัพยากรธรณี” และตัดริบบิ้นเปิดนิทรรศการร่วมกันกับนายนิมิตร ศรคลัง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 (ขอนแก่น)
นอกจากการจัดแสดงนิทรรศการไดโนเสาร์ 9 สายพันธุ์ใหม่ สายเลือดไทย แล้วยังมีกิจกรรมและนิทรรศการอื่นๆ อีก ได้แก่ กิจกรรมตามล่าไดโนเสาร์ แสดงหลุมขุดค้นกระดูกไดโนเสาร์จำลอง ซึ่งเปิดโอกาสให้เยาวชนและผู้ที่สนใจได้ทดลองและขุดค้นไดโนเสาร์, กิจกรรมไดโนเซลฟี่ เป็นการจำลองบรรยากาศของป่าดึกดำบรรพ์และไดโนเสาร์เมื่อกว่าร้อยล้านปี และเป็นจุดถ่ายรูปของผู้มาเยี่ยมเยือน, นิทรรศการทรัพยากรธรณีมีคุณค่า จัดแสดงตัวอย่างของแร่ชนิดต่างๆ ไม้กลายเป็นหินและซากดึกดำบรรพ์หอย และนิทรรศการเรียนรู้เรื่องหินในถิ่นไดโนเสาร์ เป็นนิทรรศการกลางแจ้งในลานไดโนเสาร์ จัดแสดงตัวอย่างของหินอัคนี หินตะกอน และหินแปร ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของชนิดหินทั้ง 3 ชนิด ตามวัฏจักรของหิน
จากนั้น รศ.ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริรชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะผู้บริหารและบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เยี่ยมชมนิทรรศการหมุนเวียนของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)ที่ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการจัดนิทรรศการหมุนเวียนภายในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งนิทรรศการหมุนเวียนที่จัดขึ้นในครั้งนี้ คือ นิทรรศการ “แสงคือชีวิต” บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของผู้ค้นพบแสงในยุคต่างๆ กิจกรรมการเล่นสนุกกับแสง และการใช้ประโยชน์ของแสง โดย ผศ.ดร.เพ็ญประภา เพชระบูรณิน ผู้จัดการสำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำชมนิทรรศการดังกล่าว
ข่าวในหมวด
Science Walk rally come back again!!!!
Khon Kaen MuArt เส้นทางพิพิธภัณฑ์ฉบับตามใจฉัน
Science Show: สีที่หายไปไฟจราจร, ภูเขาไฟยูนิคอร์น, หมึกล่องหน