Fri. Nov 22nd, 2024

SERIES : BIRDS IN KHONKAEN UNIVERSITY
นกจับแมลงหัวเทา

bird_ep2-02

เมื่อเดินเข้าไปในป่าหรือสวน เรามักจะได้ยินเสียงร้องเจื้อยแจ้ว ดัง “วิด จู วิด จู วิด…….”

อยู่เป็นระยะ แต่เมื่อมองไปตามเสียงนั้น เราอาจจะไม่เห็นต้นกำเนิดเสียงอันไพเราะนี้

เนื่องจากต้นกำเนิดเสียงนี้มีขนาดเล็กมาก ๆ และมักจะไม่ค่อยอยู่นิ่ง

ชอบกระโดดไปมาตามกิ่งไม้คอยจับเหยื่อที่บินอยู่กลางอากาศ

 ————————————————————————–

bird_ep2-03

นกจับแมลงหัวเทา Grey-headed Canary-flycatcher
ชื่อวิทยาศาสตร์ : 𝘊𝘶𝘭𝘪𝘤𝘪𝘤𝘢𝘱𝘢 𝘤𝘦𝘺𝘭𝘰𝘯𝘦𝘯𝘴𝘪𝘴
อยู่ในวงศ์นกจับแมลงหัวเทา (Stenostiridae หรือ fairy flycatchers)
เป็นนกขนาดเล็ก หัวสีเทาเป็นทรงพุ่ม ตัวสีเหลือง บริเวณหลังและหางมีสีเขียวปนเหลือง
นัยน์ตาสีดำโตดูสดใส
 ————————————————————————–

bird_ep2-04

มองหาตัวได้ค่อนข้างยากเนื่องจากมีพฤติกรรมที่ไม่อยู่นิ่งกับที่ หรืออาจจะอยู่นิ่งได้ไม่นานนัก

ก็มักจะกระโดดหรือบินไปที่อื่น นกจับแมลงหัวเทามีพฤติกรรมการจับเหยื่อ

โดยการบินโฉบเหยื่อกลางอากาศแล้วจับมากินบนกิ่งไม้ โดยเหยื่อส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นแมลงตัวเล็ก ๆ

บางครั้งเราอาจเห็นนกชนิดนี้บินจับแมลงที่ติดในใยแมงมุม

 ————————————————————————–

bird_ep2-05

สถานะภาพตามฤดูกาลของนกชนิดนี้เป็นทั้งนกประจำถิ่น
ที่พบได้ทั่วไปในป่าเขตร้อนในทวีปเอเชีย และเป็นนกอพยพช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์
พฤติกรรมการผสมพันธุ์จะจับคู่ทำรังในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน
ตัวผู้และตัวเมียช่วยกันทำรัง กกไข่ และเลี้ยงลูก โดยจะทำรังเป็นรูปถ้วยบนต้นไม้ใหญ่
วางไข่ครั้งละ 4-6 ฟอง
 ————————————————————————–
จากภาพเป็นนกจับแมลงที่พบในสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
บันทึกภาพได้ขณะเดินสำรวจป่าช่วงวันที่ 28 มกราคม 2564
 ————————————————————————–
ภาพและเรื่องโดย นฤดม พิมพ์ศรี นักวิทยาศาสตร์ ศูนย์พิพิธภัณฑ์ฯ