ต้นหูกวาง (Tropical Almond หรือ India Almond)
วงศ์ : Combretaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia catappa Linn.
ชื่อตามท้องถิ่น : โคน ตาแป่ห์ (นราธิวาส), ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก และสตูล), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี)
ต้นหูกวาง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่มีความสูงประมาณ 15-20 เมตร จัดเป็นไม้ผลัดใบ พบได้ทั่วไปในทุกจังหวัดของไทย นิยมปลูกเพื่อวัตถุประสงค์การให้ร่มเงา และเนื้อไม้เป็นหลัก เนื่องจากมีใบใหญ่ สีเขียวสวยงาม โดยเฉพาะในฤดูการแตกใบใหม่ มักพบปลูกในสถานที่ราชการหรือที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้มีร่มเงาบังแดด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น ต้นหูกวางเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งเป็นชั้นๆในแนวราบ เปลือกต้นมีสีเทา แตกเป็นร่องตื้นๆ และลอกออกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ
ใบ ใบหูกวางจัดเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวอ่อนเมื่อแตกใบใหม่ และเมื่อแก่จะมีสีเหลืองถึงน้ำตาล ใบจะแตกเรียงสลับบริเวณปลายกิ่ง มีรูปไข่กลับด้าน กว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ปลายใบมีติ่งแหลม ส่วนโคนใบมีลักษณะสอบแคบ เว้า และมีต่อม 1 คู่ แผ่นใบมีลักษณะหนา และมีขนนุ่มปกคลุม ผลัดใบในฤดูหนาว ช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี ป้อม และแบนเล็กน้อย ความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีสีเปลือกผลสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองออกน้ำตาล และเมื่อแห้งจะเป็นสีดำคล้ำ และเมื่อเนื้อเปลือกหลุดออกจะเห็นเป็นเส้นใยกระจุกตัวแน่นทั่วผล
ประโยชน์ต้นหูกวาง
- เนื้อไม้นำมาแปรรูปเป็นไม้แผ่นสำหรับก่อสร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน เครื่องดนตรี อุปกรณ์จับสัตว์ เฟอร์นิเจอร์
- 2. กิ่ง และเนื้อไม้ขนาดเล็กนำมาเป็นฟืนให้ความร้อนในการประกอบอาหาร
- 3. ใบนำมาบดหรือต้มทำสีย้อมผ้า ซึ่งจะให้ทั้งสีเขียวในใบอ่อน และสีเหลืองในใบแก่ รวมถึงราก และผลดิบก็ใช้ในการฟอกย้อมหนัง การผลิตสีดำ และผลิตหมึกสี
สรรพคุณต้นหูกวาง
- 1. ทั้งต้น ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด แก้ท้องร่วง ท้องเสีย แก้โรคบิด ใช้เป็นยาระบาย ยาสมานแผล และช่วยขับน้ำนมของสตรี
- 2. ราก ช่วยรักษาอาการประจำเดือนของสตรีมาไม่ปกติ
- 3. เปลือก ใช้รักษารักษาโรคตับ
- 4. เปลือก ใช้รักษาอาการปวดตามข้อ และโรคที่เกี่ยวกับข้อกระดูกต่าง ๆ
- 5. เปลือกใช้ทำเป็นยาฝาด แก้ท้องเสีย โรคบิด โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และแก้ซางในเด็ก
- 6. เปลือกนำมาต้ม ใช้เป็นยาบำรุงเลือด ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ แก้อาการตกขาว และลดกลิ่นในช่องคลอด
- 7. ในประเทศไต้หวันมีการใช้ใบหูกวางเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับรักษาโรคตับ
- 8. ใบมีช่วยขับเหงื่อ ลดไข้
- 9. ใบ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ
- 10. ใบ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ
เอกสารอ้างอิง
กรมป่าไม้. (2557). Manu ต้นไม้ รายการชนิดพันธุ์ไม้. ส่วนเพาะชำกล้าไม้สำนักส่งเสริมการปลูกป่า.
อุทยานหลวงราชพฤกษ์. (2560). หูกวาง. ค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2564. จาก
https://www.royalparkrajapruek.org/Plants/view?id=1375
พรพิมล พิมลรัตน์ และคณะ. (2560). เอกสารประกอบการอบรม สารสกัดแทนนินจากใบหูกวาง: วิธีการเตรียมอย่างง่าย และ
การประยุกต์ใช้ในปลาสวยงาม. สาขาวิชาการประมง มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
สมจินตนา พุทธมาตย์ และ วรวัฒ สุวรรณสาร. (มปป). การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของใบหูกวาง
(Terminalia catappa L.) และผลต่อการเปลี่ยนแปลง คุณภาพนาและการยับยั้งแบคทีเรียในน้ำ. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต
ข่าวในหมวด
Science Walk rally come back again!!!!
Khon Kaen MuArt เส้นทางพิพิธภัณฑ์ฉบับตามใจฉัน
Science Show: สีที่หายไปไฟจราจร, ภูเขาไฟยูนิคอร์น, หมึกล่องหน