Mon. Apr 28th, 2025

มะขามเทศ

ชื่อสามัญ Manila Tamarind/Madras Thorn

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.

ชื่อวงศ์ Fabaceae

ชื่อท้องถิ่น

 

ลักษณะทั่วไป

 “ต้นมีหนาม ผลเป็นฝัก หวานฝาดทานได้”

พืชผลริมทางทั่วไปพบเห็นได้ทั่วทุกภาค ปลูกง่าย โตเร็ว ทนทาน เส้นใยอาหารที่มีอยู่มากดีต่อระบบขับถ่าย ส่วนแคลเซียมและเหล็กช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนและโลหิตจาง

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะขามเทศเป็นไม้เนื้อแข็ง มีอายุนานหลายปี ลำต้นสูงได้มากกว่า 10 เมตร ลำต้นค่อนข้างกลม เปลือกมีสีน้ำตาล ผิวเปลือกเป็นร่องเล็ก และขรุขระ ลำต้น และกิ่งมีหนามแหลมคม กิ่งแตกออกในระดับต่ำ แตกกิ่งมาก

ใบบางและเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบเรียงสลับ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 0.5-2.5 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ขอบใบ 2 ข้างโค้งไม่เท่ากัน ผิวใบเรียบถึงมีขนเล็กน้อย ก้านใบอ่อนมีขนปกคลุม โคนก้านใบมีหูใบคล้ายหนาม

ดอกช่อ ขนาดเล็ก สีขาว เห็นเกสรตัวผู้เป็นพู่ชัดเจน

ผลเป็นฝักโค้งเป็นปล้อง ๆ ฝักอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือแดง เนื้อในเป็นสีชมพูหรือสีขาว รสหวานหรือหวานอมฝาด ถ้าทิ้งไว้นาน เนื้อจะนุ่ม รสหวานจัดขึ้น แต่ถ้านานเกินไปจะมีกลิ่นเหล้าออกมา เมล็ดสีดำ มีปล้องละ 1 เมล็ด

 

ประโยชน์

  1. ผลมะขามเทศมีทั้งผลที่มีรสฝาด และรสหวาน ซึ่งสามารถรับประทานได้ โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีเนื้อหวานจะมีการปลูกสำหรับรับประทาน และบางแห่งมีการปลูกเพื่อเก็บฝักหรือผลจำหน่ายสร้างรายได้
  2. เนื้อไม้ และกิ่งใช้ทำฟืนหุงหาอาหาร นำมาแปรรูปเป็นไม้ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือน และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เนื่องจากแก่นในของไม้มะขามเทศให้เนื้อสีน้ำตาลปนแดงถึงดำ ด้านข้างมีสีเลืองน้ำตาล เนื้อไม้เหนียว แข็ง และทนต่อมอดปลวกได้ดี

 

เอกสารอ้างอิง

เว็บไซต์พืชเกษตร. (2558). มะขามเทศ สรรพคุณ และการปลูกมะขามเทศ. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2564, จาก

มะขามเทศ สรรพคุณ และการปลูกมะขามเทศ

เว็บไซต์เมดไทย. (2560). มะขามเทศ สรรพคุณและประโยชน์ของมะขามเทศ 30 ข้อ !. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม

2564, จาก https://medthai.com/มะขามเทศ