หางนกยูงฝรั่ง
ชื่อสามัญ: The Flame Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์/ชื่อพฤกษศาสตร์: Delonix regia (Hook.) Raf.
วงศ์: Fabaceae, Leguminosae
ชื่อท้องถื่น: หางนกยูง, หางนกยูงฝรั่ง, ยูงทอง (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ชมพอหลวง, ส้มพอหลวง
(ภาคเหนือ), หงอนยูง (ภาคใต้), อินทรี (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ต้นโตเต็มที่อาจสูงถึง 18 เมตร มีถิ่นกำเนิดที่เกาะมาดากัสการ์ ทวีปอัฟริกา เรือนยอดแผ่ขยายคล้ายร่ม ลำต้นเกลี้ยง มีสีน้ำตาลอ่อน โคนต้นมีรากเป็นพูพอน[1] มีรากโผล่ขึ้นเหนือพื้นดินเมื่อโตเต็มที่ ลักษณะใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นเรียงสลับ มีใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะใบคล้ายใบมะขาม ในประเทศไทยผลัดใบช่วงฤดูร้อน ดอกมีสีส้ม เมื่อทิ้งใบจะออกดอกเต็มต้น กลีบดอกมี 5 กลีบมีเหลืองและสีแดง เกสรตัวผู้ยาวงอนออกมาเหนือดอก เมื่อดอกบานเต็มต้นมองดูจะมีลักษณะคล้ายเปลวไฟ (เป็นที่มาของชื่อ Flame Tree; Flame แปลว่าเปลวไฟ) บานสะพรั่งดูสวยงาม ผลมีลักษณะเป็นฝักแบนยาว โค้งเป็นรูปดาบ มีเมล็ดเรียงกันภายในฝักเป็นแนวขวาง
ประโยชน์
- เป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ทนต่อสภาพอากาศ ออกดอกบานสะพรั่งคล้ายสีเปลวไฟ สวยงาม จึงนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ
- รากหางนกยูงฝรั่งสามารถทำมารับประทานได้
- เมล็ดสามารถนำมารับประทานได้ เมล็ดออ่อนสามารถแกะจากฝักแล้วรับประทานได้เลย แต่เมล็ดแก่ต้องทำให้สุกก่อนรับประทาน เนื่องจ่ากมีส่วนที่เป็นพิษ และยังสามารถนำไปรับประทานเป็นของหวานได้โดยนำเมล็ดไปราดน้ำกะทิรับประทาน
[1] “พูพอน (buttress root) เป็นรากแบบหนึ่ง ที่เกิดจากการปรับตัวของต้นไม้บางชนิดที่เกิดอยู่บริเวณริมน้ำ อยู่ในพื้นที่ที่มีดินตื้น หรืองอกอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม ที่ซึ่งรากแก้วไม่สามารถชอนไชลงไปในดินได้ ต้นไม้จึงมีการปรับตัวให้รากเปลี่ยนแปลงรูปร่างให้มีลักษณะเป็นแผงใหญ่ยื่นออกนอกลำต้นทางโคน ซึ่งติดกับรากแขนงของไม้ยืนต้น ซึ่งรากพูพอนจะช่วยดูดซับน้ำและช่วยลดแรงสั่นสะเทือนให้กับต้นไม้ เพื่อให้อยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสมได้”
มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
ข้อมูลอ้างอิง
มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร. รากพูพอน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.seub.or.th/bloging/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87 %E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0% B8%B9%E0%B9%89/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A B%E0%B8%B7%E0%B8%94/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0 %B8%B9%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%99/. [7 ก.ย. 2021].
มูลนิธิหมอชาวบ้าน. หางนกยูงฝรั่งความสดใสแห่งฤดูร้อน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/1921. [7 ก.ย. 2021].
สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. “หางนกยูงฝรั่ง”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/kp_bot_garden/nokyoong.htm. [7 ก.ย. 2021].
ข่าวในหมวด
Science Walk rally come back again!!!!
Khon Kaen MuArt เส้นทางพิพิธภัณฑ์ฉบับตามใจฉัน
Science Show: สีที่หายไปไฟจราจร, ภูเขาไฟยูนิคอร์น, หมึกล่องหน